ประวัติมวยไชยา (Muay Chaiya)

ประวัติมวยไชยา (Muay Chaiya)
a girl in a kimono exercises with a punching bag i 2023 12 27 20 21 47 utc (Web H)

พ่อท่านมา

ประวัติมวยไชยายุคแรก เริ่มตั้งแต่พ่อท่านมา พ่อท่านมาเคยมีเรื่องเล่าจากคนพุมเรียงว่า ช้างของชาวบ้าน (ซึ่งชาวเมืองไชยาจะเลี้ยงช้างไว้ใช้งาน) บางกระแสว่าช้างป่ามาอาละวาด เข้าไปทําลายพืชไร่ต้นไม้ ของวัด ของชาวบ้าน เสียหายเป็นประจํา ทําให้วัดและชาวบ้านเดือดร้อนเป็นอันมากอยู่ๆข้างเหล่านั้นหายไป ชาวบ้านตามหาเท่าไหร่ก็หาไม่พบจึงมาหาท่านพ่อ มา ท่านพ่อมาก็ว่าไม่ไปไหนหรอกมันอยู่ที่นี่

ท่านหงายกะลามะพร้าวขึ้นปรากฏว่าพื้นที่ที่กะลาครอบอยู่นั้นมีรอยเท้าของช้างปรากฏอยู่เต็มไปหมด ชาวบ้านจึงรู้ว่า โดนดีเข้าแล้ว จึงรับปากท่านพ่อมาว่าจะไม่ให้ช้างม้าหรือสัตว์ใหญ่เข้ามารบกวนในวัดอีก

นับแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ ไม่มีใครเอาสัตว์ใหญ่เข้าไปบุกรุกหรือเลี้ยงใน วัดอีกเลย นับแต่นั้นเป็นต้นมา”
ประวัติของท่านนั้นไม่มีการกล่าวหรือบันทึกไว้มากนักทราบเพียงว่า พ่อท่านมาเป็นครูมวยใหญ่ ที่เดินทางมายังเมืองไชยา (บางก็ว่าท่านเป็น ขุนศึกหรือแม่ทัพ ออกบวชและธุดงค์มาจากกรุงเทพฯ) เมื่อราว ๑๖๕ ปีมาแล้ว สมัย ร.๓ ตอนปลายท่านเชี่ยวชาญวิชาการต่อสู้และมีวิชาอาคมแก่กล้าเคยใช้อาคมกําราบช้าง อาละวาดจนชาวบ้าน ขนานนามวัดนั้นว่า “วัดทุ่งจับช้าง” มาแล้ว

ศิลปะมวยของท่านได้รับการถ่ายทอด สืบต่อสู่ชาวเมืองไชยาและครูมวยต่อมาอีกหลายๆ ท่านนับแต่พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขํา ศรียาภัย) ปฐมศิษย์เบื้องต้นผู้เป็น ครูมวยของหมื่นมวยมีชื่อ( ปล่อง จํานงทอง) ครูนิล ปักษี ครูอินทร์ ศักดิ์เดช โดยเฉพาะหมื่นมวยมีชื่อที่ได้รับราชทานนามนี้จากล้นเกล้าในรัชกาลที่ ๕ นับเป็น เกียรติแก่เมืองไชยายิ่งนัก แม้ทุกวันนี้ยังมีนักมวย นักศึกษาและประชาชนเดินทางไปกราบไหว้ และรําถวายมือ หน้าเจดีย์บรรจุอัฐิพ่อท่านมา วัดทุ่งจับช้าง อําเภอ พุมเรียง สุราษฎร์ธานีอยู่เสมอ

ช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๔ หลวงพ่อไสว อินทะวังโส ได้มาอยู่จําพรรษาที่วัด และดูแลพัฒนาบริเวณวัดสร้างหลังคากันแดดฝนคลุมรักษา สถูปบรรจุอัฐิพ่อท่านมาไว้ โดยมี ชาวบ้านและคุณยายท่านหนึ่งซึ่งมีศักดิ์เป็น หลานสาวของ “ท่านปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย” ได้ร่วมกันบํารุงรักษาวัดอยู่ต้นปี พ.ศ.๒๕๔๕ ได้ข่าวว่า หลวงพ่อไสว จะเดินทางไปจําวัดอยู่ที่นครศรีธรรมราช เป็นที่น่าเสียดายวัดทุ่งจับช้างก็คงจะเป็นวัดร้างไร้การดูแลอีก

พระยาวจีสัตยารักษ์ (ขํา ศรียาภัย)

พระยาวจีสัตยารักษ์ เดิมชื่อ ขํา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ํา ปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗ ตรงกับรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๓ นายขํามีบุตร ๕ คนคือชื่น ศรียาภัยพระยาประชุมพลขันธ์ นายจวน นายเขตร์และนางเฉลิม

นายขํา ศรียาภัย ได้ถวายตัวเป็นหาดเล็กในรัชกาลที่ ๔ ได้ฝึกหัดราชการอยู่ในสํานักของสมเด็จเจ้าพระยา บรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมุหพระกลาโหม นายจําเป็นผู้มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี และเป็นผู้มีความรู้ความชํานาญ หลายด้าน เช่น การค้าขายการจับ และฝึกหัดช้าง และยังมีความสามารถในการพูดภาษาจีน ซึ่งเป็นประโยชน์ในกาติดต่อค้าขายเป็นอย่างมาก จนได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชานุชิต ผู้ช่วยราชการเมืองไชยาในรัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๑๒

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีราชสงคราม ปลัดเมืองไชยาและดํารงตําแหน่งนี้ เป็นเวลา ๑๐ปี มีควาชอบจากการไปปราบจลาจลชาวจีน ที่เมืองภูเก็ตจึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทิพยาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๕

พ.ศ. ๒๔๒๒ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตภักดี ผู้ว่าราชการเมืองไชยาทําความดีความชอบจนได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์มัณฑยาภรณ์มงกุฎ สยามชั้นที่ ๓ นิภาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๓ เหรียญดุษฎีมาลา

พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบมณฑล พระยาวิชิตภักดี ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ์ จางวางเมืองไชยา

พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวจีสัตยารักษ์ และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลสุราภรณ์ มงกุฎสยาม ชั้นที่ ๒ และเหรียญจักรพรรดิมาลาเป็น เกียรติยศ

เนื่องจากพระยาวจีสัตยารักษ์เป็นผู้ชํานาญเกี่ยวกับหัวเมืองชายทะเลปักษ์ใต้ ดังนั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสหัว เมืองปักษ์ใต้ พระยาวจีสัตยารักษ์จึงได้ทําหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์นําเสด็จและเมื่อมีทางรถไฟสายใต้ ได้เป็นผู้นําตรวจทางรถไฟสายใต้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่มณฑล ปัตตานี ถึงเมืองเพชรบุรี
นอกจากนี้ ยังได้สร้างคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์อีกมากมาย ท่านและบุตรหลานได้สร้างคุณงามความดีจนเป็นที่ประจักษ์ มิใช่ เฉพาะแต่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น หากแต่ได้สร้างคุณงามความดีให้กับประเทศชาติโดยส่วนรวมอีกด้วย พระยาวจีสัตยารักษ์เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรงมาโดยตลอด

ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบันเมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคมพ.ศ. ๒๕๕๗ รวมอายุได้ ๗๐ปี ปัจจุบันมีสถูปซึ่งบรรจุอัฐิของท่านและบุตรหลานในตระกูลศรียาภัย ณ เมืองไชยา (เก่า) ตําบลพุมเรียง อําเภอ ไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ท่านและบุตรหลานได้สร้างคุณงามความดีจนเป็นที่ประจักษ์ มิใช่เฉพาะแต่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีเท่านั้น หากแต่ได้สร้างคุณงามความ ดีให้กับประเทศชาติโดยส่วนรวมอีกด้วย

พระยาวจีสัตยารักษ์เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรงมาโดยตลอด ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ รวมอายุได้ ๗๐ ปี ปัจจุบันมีสถูปซึ่งบรรจุอัฐิของท่านและบุตรหลานในตระกูลศรียาภัย ณ เมืองไชยา (เก่า) ตําบลพุมเรียง อําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

อาจารย์กิมเส็ง (สุนทร ทวีสิทธิ์)

หากจะกล่าวถึงมวยไชยาแล้วไม่กล่าวถึง อาจารย์กิมเส็ง ทวีสิทธิ์ ก็คงจะทําให้ประวัติมวยไชยาขาดหายไปบางส่วน

อาจารย์กิมเส็งท่านเกิด เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๓๓ ยานนาวา กรุงเทพฯ ช่วงอายุ ๑๔ ปี ท่านได้เดินทางไปศึกษาที่ประเทศสิงคโปร์และเริ่มเรียน ยูโด ฟันดาบ มวยสากลที่นั่นจนได้พบกับ มร.เบเกอร์เจ้าของร้านขนมปัง ซึ่งเป็นครูมวยสากลฝีมือดี ได้สอนด้านทฤษฎีและปฏิบัติของ N.S.Rule จนทําให้อาจารย์กิมเส็งมีความรู้ความชําชาญมวยสากลเป็นอย่างมาก

ท่านยังได้เรียนวิชามวยไทย ดาบไทย จากครูเขียว ในป่าเขตแดนสระบุรีกับอยุธยาอยู่ ๒ ปี จึงทําให้อาจารย์เชี่ยวชาญวิชาการต่อสู้ของไทยมากขึ้น

(นอกจากวิชาที่กล่าวมาแล้ว อาจารย์ยังมีความรู้ในวิชามวยชวาของชาวอินโดนีเซีย ที่เรียกว่า “เพนต์จ๊าก” มวยจีน “เกี่ยกุ้ง” และยูยิตสู่การจับหักของชาวญี่ปุ่นอีกด้วย จากข้อเขียนของ อ.เขตร์

ช่วงอายุ ๒๕ ปี จึงได้เริ่มชกมวยไทยหลังจากนั้น ไม่นานอาจารย์ก็เริ่มสอนมวยไทยและสากลที่บ้านข้างวัดดอน ยานนาวา มีลูกศิษย์มากมาย ชกชนะมากกว่าแพ้ ลูกศิษย์ท่านได้เป็นทั้งแชมป์มวยไทย มวยสากลก็มากจนเกิดเป็น “คณะทวีสิทธิ์”

พ.ศ. ๒๔๗๒-๒๔๘๒ พระยาคทาธรบดีได้เริ่มจัดสนามมวยสวนสนุกขึ้นภายในบริเวณสวนลุมพินี และได้ชักชวนให้อาจารย์กิมเส็ง ดําเนิน การจัดมวย และเป็นกรรมการจึงทําให้ชื่อเสียงของอาจารย์กิมเส็งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

ช่วงก่อนปี พ.ศ. ๒๔๗๗ กระทรวง ธรรมการ กระทรวงศึกษาธิการ) จึงได้เชิญอาจารย์กิมเส็ง เข้าสอนวิชามวยที่โรงเรียนของกระทรวง แต่งตั้งเป็นอาจารย์พละของกรมพละ ศึกษากลาง มีลูกศิษย์มากมายกระจายอยู่ทั่วประเทศ ที่สอนมวยและเปิดค่ายมวยก็มาก

จึงทําให้ “ท่ารําาพรหมสีหน้า” กับ “ท่าย่างสุขเกษม” แพร่หลายกลายเป็นมรดกที่เห็นนักมวยไทยใช้รําบนเวทีกันอยู่จนทุกวันนี้

แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ “หงายหมัด” ซึ่ง อาจารย์เขตร์ ท่านได้ กล่าวไว้ว่า “ผิดแผกกับการตั้งท่าของมวยภาคต่างๆทั่วประเทศ” ท่าหมัดหงายไม้มวยนี้ได้เลือนหายไปจากเวทีมวยไทยปัจจุบันอาจารย์กิม เส็ง(สุนทร ทวีสิทธิ์ ) ได้ถึงแก่กรรมด้วยโรคมะเร็งปอด เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎคม พ.ศ. ๒๕๐๔ สิริอายุรวม ๗๒ ปี

ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย

ท่านสืบตระกูลมาจากนักรบโดยลําดับดังนี้พระยาชุมพร (ซุย ซุ่ยยัง) ตาทวด (พ่อของย่า) เป็นแม่ทัพไทยตีเมืองมะริดและเมืองตะนาวศรีมาประเทศไทยปลายรัชกาลที่ ๒ พ.ศ.๒๓๖๗

มีลูกเขยชื่อปานซึ่งได้เป็นที่พระศรีราชสงครามพระศรีราช สงคราม(ปาน) ปลัดเมืองไชยา (เป็น)

มีลูกชายชื่อขําถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๔ รับใช้สอย ในสํานักสมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ ที่สมุหพระกลาโหมและได้รับพระราชทานสัญญาบัตร เป็นหลวงสารานุชิต ผู้ช่วยราชการเมืองไชยาเมื่ออายุ ๒๕ ปี

หลวงสารานุชิต (ขํา ศรียาภัย)ได้พระราชทานสัญญาบัตรเป็นพระศรีราชสงคราม ปลัดเมืองไชยา (แทนบิดาซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๒

พระศรีราชสงคราม (ขํา ศรียาภัย) ได้ช่วยปราบจีนจลาจลที่เมืองภูเก็ตในคราวเดียวกันกับหลวงพ่อแช่มเจ้าอาวาสวัดฉลอง ซึ่งพวกจีนติดสินบนหัว ๑๐๐๐ เหรียญ จีนจลาจลแตกพ่าย หนีกระจัดกระเจิงลงเรือใบใหญ่ ออกทะเลจึงได้รับปูนบําเหน็จความดีความชอบเลื่อนยศเป็น “พระยาวิชิตภักดีศรีพิชัยสงคราม” ผู้ว่าราชการเมืองไชยา

พ.ศ. ๒๔๒๒ พวกจีนจลาจลที่ภูเก็ตหนีลงเรือแต่ไม่กลับเมืองจีนได้เที่ยวปล้นตามหัวเมืองชายทะเลตั้งแต่ปลายอาณาเขตไทยทางใต้จนถึงเมือง เกาะหลักคือประจวบคีรีขันท์ เรื่องรบหลวง ๒ ลํา มีกําลังพล ๒๐๐ ต้องประจํารักษาเมืองภูเก็ตจึงเป็นหน้าที่ของเจ้าเมืองทําการปราบปราม

เวลานั้นพระยาวิชิต ภักดีศรีพิชัยสงครามเป็นเจ้าเมืองไชยาแต่มีหน้าที่รักษาเมืองชุมพรและกาญจนดิษฐ์ด้วยได้คิดสร้างลูกระเบิดมือขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย

รวบรวมพลอาสาออกปราบปรามโจรจีนสลัดในอ่าวไทยเป็นเวลา ๓ ปี โจรจีนสลัดสงบราบคาบจึงได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์ต่างๆ เป็นบําเหน็จโดยลําดับ

จนถึง พ.ศ.๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนเป็นพระยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ์ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม เพื่อประกาศความดีความชอบที่ได้สร้างลูกระเบิดมืออันเป็นอาวุธแปลกไม่เคยเห็นกันในสมัยนั้น

ต่อมาอีก ๗ ปี คือวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานสัญญาบัตรให้เลื่อนเป็น พระยาวจีสัตยารักษ์

มีตําแหน่งเป็นผู้กํากับการถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาจนกระทั่งวันถึงแก่ กรรม วันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๗

เขตร ศรียาภัย เป็นลูกคนสุดท้องของพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขํา ศรียาภัย เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๕ ณ ตําบลหนองช้าง ตาย(ต.ท่าตะเภา ในปัจจุบัน) อําเภอท่าตะเภา จังหวัดชุมพร

ในสมัยเด็กอายุประมาณ ๑๐ ขวบ เขตร ศรียาภัย ได้เข้าโรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวราราม อยู่ที่บ้านทวาย

ชอบกีฬาประเภทออกแรง ทุกชนิด เช่น พายเรือ ว่ายน้ํา วิ่งแข่ง ที่จับ ฯลฯ ได้เป็นที่ ๑ในชุดวิ่งเปรี้ยวชิงชนะเลิศกับชุดโรงเรียนวัดประทุมคงคา ได้ถ้วย และโรงเรียน มัธยมวัดสุทธิวราราม

มีชื่อทางวิ่งเปรี้ยวแต่นั้นมาได้ลาออกเพื่อเข้าโรงเรียนอัสสัมชัญเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี เพราะทนถูกรังแกจากนักเรียนที่ใหญ่กว่าไม่ไหว ณ โรงเรียน ฝรั่งแห่งใหม่กลับร้ายกว่า โรงเรียนเดิมเพราะมีนักเรียนมากกว่า ๓ เท่า เขตร ศรียาภัย ต้องทนมือทนตีนอยู่ ๓ ปี อันเป็นปฐมเหตุแห่งความพยายามศึกษาวิชาต่อสู้

ครูทอง เชื้อไชยา(ทองหล่อ ยาและ)

ท่านเกิดเมื่อ 9 สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ที่โรงพยาบาล ศิริราช กรุงเทพฯ เมื่อเรียน อยู่ชั้น ป.๖ โรงเรียนวัฒนศิลป์ ประตูน้ำ เริ่มเรียนมวยสากลกับครูประสิทธิ์ นักมวยสากลจากกรมพละ

ช่วงอายุ ๑๓-๑๔ ปี ครูได้ออกหาค่ายมวยไทยที่จะเรียนอย่าจริงจัง ครูไปดูอยู่หลายที่แต่ก็ไม่ถูกใจเพราะแต่ละค่ายนั้น เวลาซ้อมนักมวยจะเจ็บตัวกันมากไม่มีการป้องกันตัวเลย ครูจึงได้ไปหัดเรียนมวยไทยกับป๊ะลาม ญาติของแม่แถวซอยกิ่งเพชร โดยมีครูฉันท์ สมิตเวช กับ ครูชาย สิทธิผล เป็นผู้สอน

ด้วยความที่เป็นคนร่างเล็กผอมบางจึงถูกเพื่อนๆ รังแกอยู่เป็นประจํา แต่ก็เรียนอยู่ได้ไม่นานเพราะถูกเด็กโต กว่ากลั่น แกล้ง หลังจากจบภาคการศึกษาและได้ผ่านชีวิตโลดโผน อย่างลูกผู้ชาย

ในยุคนั้นครูทองได้มาทํางานที่การรถไฟมักกะสัน ได้รู้จักกับเพื่อนของคุณพ่อ ชื่ออาจารย์สามเศียร ได้พูดคุยเรื่องมวยและพาไปพบกับ อาจารย์เขตร ที่บ้าน ครูจึงเริ่มเรียนมวยไชยาขั้นพื้นฐานตามลําดับเรียนอยู่หลายเดือนจึงคิดจะขึ้นชกเวทีเหมือนอย่างรุ่นพี่บ้าง

ช่วงนั้นครู ทองอายุประมาณ ๑๖ ปี จึงไปขออนุญาต อาจารย์เขตร อาจารย์ท่านก็ดูฝีไม้ลายมือว่าใช้ได้ จึงบอกครูให้เตรียมร่างกายให้ดีแล้วจะพาไปชกแต่ครูทองท่านได้แอบไปชกมวย เวทีตามต่างจังหวัดรอบกรุงเทพฯผลชนะมากกว่าแพ้และได้ชกชนะมวยดัง ฉายาเสือร้ายแปดริ้ว ที่ฉะเชิงเทรา จนเป็นข่าวรู้ถึงอาจารย์เขตร

นับแต่นั้นครูทองจึงได้ชกใน กรุงเทพฯ โดยอาจารย์เขตรจะพาไปชกด้วยตนเอง ครูทองชกครั้งแรกที่เวทีราชดําเนินกับสมชาย พระขรรค์ชัยด้วยความตื่นเวทีใหญ่ทําให้ครูทองแพ้ในครั้งนั้นครูทองติดต่อ ขอแก้มืออีกครั้งแต่ฝ่ายสมชาย ไม่ขอแก้มือด้วย

ครูทองตัดสินใจเลิกชกมวยเมื่ออายุ ๒๔ ปีเมื่อคุณย่าท่านป่วยหนักและได้ขอร้องให้ครูเลิกชกมวยเวที ครูทองก็ให้สัจจะแต่ขอ คุณย่าไว้ว่าจะเลิกต่อยแต่ไม่เลิกหัด คุณย่าท่านก็อนุญาต

ครูทองได้เรียนมวยกับอาจารย์เขตรอยู่อีกหลายปีจนอาจารย์เขตรออกปากว่าจะพาไปเรียนกับอาจารย์ใหญ่ อาจารย์ เขตร จึงฝากครูทองให้ไปเรียนวิชาต่อกับอาจารย์ กิมเส็ง

ครูทองท่านสนใจเรียนมวยมากเมื่ออาจารย์ กิมเส็ง ให้ถือดาบไม้และให้ลองเล่นกับท่านดูโดยบอกว่า ก็เล่นเหมือนกับ เล่นมวย นั่นแหละ ลองอยู่สักพักอาจารย์กิมเส็ง ท่านก็บอกว่า ใช้ได้นี่ ด้วยเหตุนี้ ครูทอง จึงไม่ได้เรียนดาบ กับอาจารย์กิมเส็ง ซึ่งครูมักพูดว่าเสียดายอยู่เสมอๆ (แต่ครูทองก็มีความรู้เรื่อง การฟันดาบอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว)

เรียนอยู่สัก ๓ อาจารย์กิมเส็งท่านก็สิ้น ครูทองได้มาช่วยเพื่อนชื่อไหว สอนมวยอยู่ที่ราชบูรณะและเริ่มสอนมวยอย่างจริงจัง

เมื่อท่านย้ายบ้านมาอยู่ย่านบางนามีทหารเรือมาฝึกกับท่าน จํานวนมาก ครูทองจึงได้ไปขออนุญาต อาจารย์เขตร ว่าจะสอน ครั้นพูดจบอาจารย์เขตร ก็เหวี่ยงแข้งเตะมาที่ครูทองทันที ครูทองก็รับปิดป้อง ว่องไว ตามที่ได้เรียนมา อาจารย์เขตร จึงว่า อย่างนี้สอนได้ และได้ให้ครูทองมาเรียนวิชาครูเพิ่มเติม

ครูทอง ใช้ชื่อค่ายมวยว่า “ค่ายศรีสกุล” ต่อมาใช้ “ค่ายสิงห์ทองคํา” แต่ซ้ำกับค่ายอื่นท่านจึงไปกราบขอชื่อค่ายมวยจากอาจารย์เขตร ซึ่งก็ได้รับความกรุณาโดยอาจารย์ได้ ตั้งชื่อให้ว่า “ค่ายไชยารัตน์”

ด้วยเหตุว่าเมื่อครั้งเรียนวิชามวยไชยากับอาจารย์เขตร ศิษย์ทุกคนจะใช้สกุลในการขึ้นชกมวยว่า “ เชื้อไชยา” ครูทอง มีลูกศิษย์ หลายรุ่น แต่ละ รุ่นท่านก็สอนไม่เหมือนกัน บางคนจะชกมวยสากล บางคนจะชกมวยไทยเวที ท่านจึงสอนให้ตามความเหมาะสม

จนเมื่อ ปลายปี ๒๕๒๕ ครูแปรงและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคําแหง ชมรมต่อสู้ป้องกันตัว อาวุธไทย ได้เข้ามอบตัวและขอท่านเรียนมวยไชยา แรกๆไปเรียนที่บ้านครู แต่ระยะหลังจึงได้เชิญ ครูทองท่านมาสอนที่มหาวิทยาลัย

และครูได้เริ่มสอนแบบโบราณ คาดเชือก ด้วยเห็นว่า ท่าย่างสามขุมของดาบ นั้นเป็นแนวเดียวกับการเดินย่างของ มวยคาดเชือก

พ.ศ.๒๕๒๗ นักศึกษาจุฬา (เคยฝึกอาวุธไทยที่รามฯ) ได้เชิญครูท่านไปเป็นอาจารย์พิเศษที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ครูทองจึงได้ถ่ายทอดศิลปะมวยคาดเชือก สายไชยา ในสองสถาบัน จนพ.ศ.๒๕๓๗ จึงหยุดสอนด้วยโรคประจําตัว ครูทองหล่อ ยาและ ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด และถึงแก่กรรมด้วยวัยเพียง ๖๗ ปี ในเวลาเช้า ๘.๔๕ น. ของวันที่ ๑๙ กันยายนพ.ศ. ๒๕๓๙

ประวัติครูแปรง

ครูแปรง (ณปภพ ประมวญ) เกิดเมื่อวันที่ ๑ กันยายน ๒๕๐๑ ที่ตําบลหนองชิ่ม อําเภอแหลม สิงห์ จังหวัดจันทบุรี

เนื่องด้วยถิ่นกําเหนิดเป็นชนบท ท้องทุ่งนา และป่าเขา ช่วงในวัยเยาว์ จึงมี วิถีชีวิตแบบลูกทุ่งคลุกคลีอยู่กับวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี แบบลูกทุ่งดั้งเดิม เช่น ชกต่อยประลองเชิงกันแบบวัยรุ่น ยิงนก ตกปลา หาของป่าและสมุนไพรด้วยคุณพ่อเป็นหมอ พื้นบ้านแผนไทยดั้งเดิม

ด้วยปฐมเหตุดังกล่าวทําให้ครูแปรงมีความสามารถในการยิงหน้าไม้ คันศร หนังสติ๊กและกระสุนพอควร และเมื่อถึงวัยอันควร ครูแปรงก็ได้รับการถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนไทยพื้นบ้าน และเคล็ดมวยจันทบูรณ์อีกโสดหนึ่งด้วย
ฯลฯ

เมื่อพ.ศ.๒๕๒๐ ครูแปรงได้เดินทางมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยรามคําแหง และได้สมัครเข้า เป็นสมาชิก ชมรมต่อสู้ป้องกันตัวแผนกมวยไทย

ฝึกซ้อมและขึ้นชกมวย ในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง จึงย้ายมาเรียนที่ แผนกอาวุธไทย “สํานักดาบเจ้าราม” ซึ่งรุ่นพี่ในชมรมฯ ช่วงนั้น มีหลายท่านและมาจากหลายสํานัก มารวมตัว กัน เพื่อก่อตั้งเป็นแผนกอาวุธไทย

ครูแปรงจึงได้เรียนวิชาจากหลายสํานักในคราวเดียว เช่น ดาบพุทไธสวรรค์, ดาบศรีไตรรัตน์, ดาบผดุงสิทธิ์ ดาบพละ, ดาบบ้านช่างหล่อ, ดาบพรานนก, มีดสั้นทอง นับแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๕ จึงจบหลักสูตร

อีกทั้งในระหว่างที่ฝึกวิชาอาวุธไทย ที่สํานักดาบเจ้ารามอยู่นั้น ครูแปรงก็ยังสืบค้นเสาะแสวงหาครูดี ที่มีทั้งวิทยาการ และวิทยาคม เพื่อค้นคว้าหาร่องรอย การต่อยอดวิชาที่ ขาดหายไป ซึ่งก็ได้พบสุดยอดวิชา

  • กระบี่ใต้ (พ.ต.ท.พิรุณ ชาตะเวที)
  • ดาบอาทมาต เท้าช้างปัตตานี (นายพิชิตชัย ดิลกศรี ดาบอาทมาต นเรศวร (พี่มาโนทย์ บุญมัด)
  • ดาบเหนือ (ครูพัน ยาโนะ)
  • วิชากุลาตีไม้(อาจารย์วีระ)
  • ดาบสายกรมหลวงชุมพร (กี คลองตัน)
  • ดาบบ้านไหว อยุธยา(ป๊ะลาม)
  • ดาบสายอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา
  • ดาบและมวยในสายอาจารย์กิมเส็ง ซึ่งถือว่าเป็นอาจารย์ปู่สายมวยทวีสิทธิ์ อีกด้วยฯลฯ

ในที่สุดได้พยายามศึกษาค้นคว้าหารหัสลับของวิชามือเปล่าและอาวุธทั้งมวล อาทิเช่น มวยไทย มวยไชยา มวยทวีสิทธิ์ มวยจันทบบุรี เคียว มีดสั้น กระบี่ กระบอง พลองข้าว หอก ทวน ไม้ศอก

ตะพด คมแฝกผ้าขาวม้า เชือกกระดูกงู ไม้เป็นไม้ตาย(ไม้คืบ)ฯลฯเป็นต้น ซึ่งต่อมา ทุก วิชาที่ผัสสะมาทั้งมวล จึงนับเป็นต้นเค้า แม่ท่า ท่าครู ปรัชญา ของการบัญญัติเป็น “วิชชากายวุธ”

ช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ระหว่างที่ ครูแปรง ทําการสอนวิชาดาบที่แผนกอาวุธไทย ในฐานะรุ่นพี่อยู่นั้น ได้มีรุ่นน้องคนหนึ่งชื่อ ปาน ได้ขอซ้อมมวยกับ ครูแปรง ด้วยทราบ ว่า ครูแปรง เป็นนักมวยเวทีมาก่อน

และระหว่างดูเชิงกันอยู่นั้น รุ่นน้องคนนั้น ได้ตั้ง ท่าทางจรดมวยดูแปลกตาไม่เหมือนมวยไทยทั่วไป ซึ่งทําให้รุ่นพี่รุ่นน้องหลายๆคนสนใจ สอบได้ความว่าเป็นวิชามวยคาดเชือก สายมวยไชยา

ครูแปรงจึงขอให้น้องคนนั้น ช่วยพาไปพบครูผู้สอนเมื่อได้พบท่านฯและได้ทดสอบวิชามวยนั้น ตามมรรยาทด้วยตัว เองจนแน่ใจว่าเป็นวิชามวยคาดเชือกจริง จึงเข้ามอบตัวเป็นศิษย์ ศึกษาวิชามวยจากครูท่านนั้น ซึ่งก็คือ “ครูทองหล่อ ยาและ” (ทองเชื้อไชยา) แห่งคลองทับช้างล่าง

ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๓๙ ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ศิลปะมวยไชยา และวิชา กระบี่กระบอง อาวุธไทย ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ครูทอง ได้ก่อตั้ง “ชมรม อนุรักษ์ พาหุ ยุทธ์ ไชยารัตน์ และอาวุธไทย ตําหรับพิชัยยุทธ์”

และได้ ศิษย์อาวุธไทย “สํานักดาบเจ้าราม” คอยให้ความช่วยเหลือในเรื่องงานสาธิต แสดงในสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงเผยแพร่ทางนิตยสารและโทรทัศน์มาโดยตลอดนับแต่นั้นมา

พ.ศ. ๒๕๒๗ ครูแปรง ได้รับการชักชวนจาก ครูทอง ให้ทํางานร่วมกับท่านที่กรมโยธาฯ ผ่านฟ้า ทําให้ครูแปรง ได้มีโอกาสติดตามครูทอง ช่วยงานสอนมวยไชยาให้กับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่สนใจ พร้อมทั้งได้ร่วมกับครูทอง ปรับปรุงหลักสูตรการสอน มวยไชยา ให้เป็นระบบตามแนวคิดของครูทอง ที่ต้องการให้ศิลปะมวยคาดเชือกสายไชยาเป็นที่สนใจในวงกว้าง สามารถเรียนได้ทั้งผู้หญิง และเด็ก ในรูปของ “การบริหารร่างกาย เพื่อพาหุยุทธ์” โดยยึดหลักวิชาการตามแบบโบราณ ไว้อย่างเคร่งครัด

ซึ่งผลจากการได้ ติดสอยห้อยตาม ครูท่านไปทุกหนทุกแห่งที่ท่านไปสอนมวยไชยา และมีโอกาสได้ช่วยท่านสอนมวยไชยาในที่ต่างๆ ทั้งยังได้ร่วมงานกับองค์กรต่างๆ เกี่ยวกับวงการมวย ทําให้ ครูแปรงได้มีโอกาสซึมซับรับประสบการณ์ตรง ซึ่งได้หล่อหลอมความเป็นครูโดยไม่รู้ตัว จากการได้ลงมือกระทําตามครู ซึ่งมักมีคํากล่าวเมื่อครูทองที่ไหนก็จะเห็นแปรงที่นั่น เหมือนพ่อกับลูกไปไหนไปด้วยกันเสมอๆ

พ.ศ. ๒๕๓๙ ครูทอง เสียชีวิต ทําให้การดําเนินงานด้านเผยแพร่ มวยไชยา หยุดชะงักไป ชั่วคราว ครูแปรง ขณะนั้นประกอบอาชีพ ทนายความ ได้ละงานประจํา มาดําเนินกิจกรรมสืบต่อ

ติดต่อเรา

บทความที่เกี่ยข้อง

a girl in a kimono exercises with a punching bag i 2023 12 27 20 21 47 utc (Web H)
ตั๊กม้อ หรือที่รู้จักในนาม พระโพธิธรรม (สันสกฤต: โพธิธรฺม, เทวนาครี: बोधिधर्म; จีน: 菩提達摩, พินอิน: Pú...
a girl in a kimono exercises with a punching bag i 2023 12 27 20 21 47 utc (Web H)
วัดเส้าหลิน (Shaolin Temple) เป็นหนึ่งในวัดที่มีชื่อเสียงและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากที่สุดในปร...
a girl in a kimono exercises with a punching bag i 2023 12 27 20 21 47 utc (Web H)
วูซู (WuShu) หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ “ศิลปะการต่อสู้จีน” เป็นหนึ่งในวิชาการต่อสู้ที...
a girl in a kimono exercises with a punching bag i 2023 12 27 20 21 47 utc (Web H)
เทควันโด (Taekwondo) เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีต้นกำเนิดจากประเทศเกาหลี และเป็นหนึ่งในกีฬาที่ได้รับความ...
a girl in a kimono exercises with a punching bag i 2023 12 27 20 21 47 utc (Web H)
ยูโด (Judo) เป็นศิลปะการต่อสู้และกีฬาที่มีต้นกำเนิดจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก่อตั้งโดยดร.จิโกโร่ คาโน่ (...
a girl in a kimono exercises with a punching bag i 2023 12 27 20 21 47 utc (Web H)
ไอคิโด (Aikido) เป็นศิลปะการป้องกันตัวแบบญี่ปุ่นที่พัฒนาขึ้นโดย โมริเฮอิ อุเอชิบะ ในช่วงต้นศตวรรษที่...